เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557
ความรู้การใช้งานของ Facebook, Twitter, Google+, Youtube, Line
ความรู้การใช้งานของ Facebook, Twitter, Google+, Youtube, Line Facebook หมายถึง บริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook, Inc.) [2] จากข้อมูล 4 ตุลาคม 2555 เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ประจำ พันล้านกว่าบัญชี หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 7 ของคนทั้งโลก [3][4][N 1] ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อพวกเขาปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ อื่น ๆ ชื่อของเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มเแรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น เฟซบุ๊กอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัครลงทะเบียนกับเฟซบุ๊ก โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป เฟซบุ๊กก่อตั้งขึ้นโดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องในวิทยาลัยของเขาและเป็นนักเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ชื่อ เอ็ดวาร์โด ซาเวริน, ดิสติน มอสโควิตซ์ และคริส ฮิวส์[5] เดิมทีสมาชิกของเว็บไซต์จะจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ก่อตั้งและนักเรียนมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่ต่อมาขยับขยายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแถบบอสตัน, กลุ่มไอวีลีก, และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แล้วค่อย ๆ เพิ่มนักเรียนจากมหาวิทยาลัยอื่น จนกระทั่งเปิดให้กับนักเรียนระดับไฮสคูล จนในที่สุดทุกคนก็สามารถเข้าสมัครได้โดยอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป สำหรับติดต่อแลกข้อมูลข่าวสาร เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊กเปิดให้ใช้งานเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวออกไปสำหรับมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และตั้งแต่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขยายมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกคนเหมือนในปัจจุบัน Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ โดยเรียกการส่งข้อความนี้ว่า ทวีต (อังกฤษ: Tweet) ซึ่งแปลว่า เสียงนกร้องทวิตเตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 โดย แจ็ก ดอร์ซี, บิซ สโตน และอีวาน วิลเลียมส์ เจ้าของบริษัทอ็อบวีโออุส[8] และต่อมาในเดือนกรกฎาคม ก็ได้เปิดตัวเว็บไซต์สังคมออนไลน์ ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมจากทั่วโลก โดยมีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนเข้าใช้มากกว่า 500 ล้านคนในปี พ.ศ. 2555 รวมไปถึงมีทวีตมากกว่า 340 ล้านทวีตต่อวัน และมีการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์มากกว่า 1,600 ล้านครั้งต่อวัน
Google+ หมายถึง ระบบเพื่อนนั่นเองที่จะสามารถสร้างกลุ่มเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ และสามารถกำหนดเป็นกลุ่มๆได้ อย่างเช่น “เพื่อน”, “ครอบครัว” และกำหนดจำนวนคนในกลุ่มได้มากกว่า 100 คนเพื่อใช้พูดคุยกันบนโลกออนไลน์ได้ ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของการพูดคุยกันใน Google + โดยจะทีการใช้ชื่อว่า +Sparks ที่มันจะคอยทำหน้าที่กำหนดสิ่งที่เราสนใจต่างๆเพื่อเข้าไปแชร์ ดูข้อมูลหรือสนทนาได้ (แบบ Group ) ยกตัวอย่างเช่นเราสนใจเรื่อง “รถยนต์”, “การ์ตูน”, “แฟชั่น” เป็นต้น ซึ่งเราสามารถระบุสิ่งที่ชื่นชอบเหล่านั้นได้แล้วก็จะมีข้อมูล feed เข้ามาให้เราได้ดู คล้ายหลักการการเป็น Fan ของ Facebook นั้นเองที่เรากด Like แล้วเมื่อต้นทางมีการอัพเดทข้อมูลเราก็จะได้เห็นด้วย แต่ +Sparks จะดึงข้อมูลจาก Internet ที่มากกว่าผ่านปุ่ม Google + เข้ามาแสดงผลด้วยซึ่งมันรองรับภาษาถึง 40 ภาษาในช่วงการเปิดตัวนี้เลย ฟีเจอร์ต่อไปนี้ถือว่าหลายคนคงชื่นชอบนั้นคือ +Hangouts ฟังชื่อก็รู้แล้วว่ามันต้องเจ๋งแน่ๆ เพราะมันเป็นการกำหนดอนาคตว่าเราต้องการจะไปปาร์ตี้ (ไปทำอะไรก็แล้วแต่) โดยเพื่อนๆสามารถเห็นว่าเรา “ว่าง” พร้อมที่จะออกไปสนุกสนานเรียกให้เพื่อนๆเข้ามาสนุกกับเราด้วย หรือจะเรียกว่ามันคือฟีเจอร์นัดพบก็ว่าได้ แต่มันก็ไม่จำเป็นแค่เพื่อนเท่านั้นที่จะมาเจอกัน เพื่อนของเพื่อนหรือจะใครต่อใครก็ได้เช่นกัน ขาดไม่ได้เลยในยุคนี้คือ Chat และแน่นอน Google ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์นี้พอสมควรโดยใช้ชื่อฟีเจอร์นี้ว่า + Huddle ซึ่งมันสามารถทำการพูดคุยกันเป็นกลุ่มๆได้ด้วยเหมาะสำหรับการทำเป็น Gang ซึ่งถ้าหลายคนเคยใช้งาน BlackBerry Messenger คงคุ้นกับการสนทนาเป็น Group messaging นี้ดี และเพื่อให้ Google + สมบูรณ์แบบก็จะต้องมีบนมือถือด้วยโดย Google + พร้อมให้ดาวน์โหลดไปใช้บนมือถือที่เรียกว่า +Mobile โดยมีฟีเจอร์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นครบสมบูรณ์บนมือถือกันเลย ซึ่งในอนาคตมันคงจะเข้าไปอยู่บนระบบ Android ที่เป็นระบบปฏิบัติการบนมือถือของ Google อีกด้วย โดยไปดาวน์โหลดมาใช้งานกันได้แล้วที่ A ndroid market ว่าแล้วก็ไปลองใช้ Social Networks ตัวล่าสุดนี้กันเลยว่าจะสู้ Facebook อย่างที่ทาง Google คาดหวังไว้หรือไม่
Youtube เป็นเว็บไซต์แลกเปลี่ยนภาพวิดีโอที่มีชื่อเสียง(www.youtube.com) โดยในเว็บไซต์นี้ ผู้ใช้สามารถอัพโหลดภาพวิดีโอเข้าไป เปิดดูภาพวิดีโอที่มีอยู่ และแบ่งภาพวิดีโอ เหล่านี้ให้คนอื่นดูได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ใน YouTube จะมีข้อมูลเนื้อหารวมถึงคลิปภาพยนตร์สั้นๆ และคลิปที่มาจากรายการโทรทัศน์ มิวสิกวิดีโอ และวิดีโอบล็อกกิ้ง (ซึ่งเป็นการสร้างบล็อกโดยมีส่วนของข้อมูลที่เป็นภาพ วิดีโอเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะเป็นภาพวิดีโอที่เกิดจากมือสมัครเล่นถ่ายกันเอง) คลิปวิดีโอที่เผยแพร่อยู่บนเว็บไซต์ YouTube ส่วนมากเป็นไฟล์คลิปสั้นๆ ประมาณ 1 - 10 นาที ถ่ายทำโดยประชาชนทั่วไป แล้วอัพโหลดขึ้นสู่เว็บไซต์ของ YouTube โดยมีการแบ่งประเภทและจัดอันดับคลิปเอาไว้ด้วย เช่น ไฟล์ล่าสุด, ไฟล์ที่มีผู้ชมมากที่สุด, ไฟล์ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด ฯลฯ YouTube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอผ่านอินเทอร์เน็ตที่มียอดผู้ชมวิดีโอของทางเว็บไซต์ทะลุหลัก 100 ล้านครั้งต่อวัน หรือคิดเป็นราว 29 เปอร์เซ็นต์ของยอดการเปิดดูคลิปวิดีโอทั้งหมดในสหรัฐฯ ในแต่ละเดือนมีผู้อัพโหลดวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000
Line หมายถึง เป็นโปรแกรมเมสเซนเจอร์ที่สามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการไอโอเอส, แอนดรอยด์, วินโดวส์โฟน ล่าสุดสามารถใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และแมคโอเอสได้แล้ว ด้วยความที่มีลูกเล่นมากมาย สามารถแชท ส่งรูป ส่งไอคอน ส่งสติกเกอร์ ตั้งค่าคุยกันเป็นกลุ่ม ฯลฯ ทำให้มีผู้ใช้งานแอพนี้เป็นจำนวนมาก
ที่มา: http://nipaporn5326.blogspot.com/2014/01/facebook-twitter-google-youtube-line.html
ความรู้เกี่ยวกับ Web Application, Search Engine
Web Application, Search Engine Web Applicationคือ การพัฒนาระบบงานบนเว็บ ซึ่งมีข้อดีคือ ข้อมูลต่าง ๆ ในระบบมีการไหลเวียนในแบบ Online ทั้งแบบ Local (ภายในวง LAN) และ Global (ออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการข้อมูลแบบ Real Time ระบบมีประสิทธิภาพ แต่ใช้งานง่าย เหมือนกับท่านทำกำลังท่องเว็บ ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาจะตรงกับความต้องการกับหน่วยงาน หรือห้างร้านมากที่สุด ไม่เหมือนกับโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป ที่มักจะจัดทำระบบในแบบกว้าง ๆ ซึ่งมักจะไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง ระบบสามารถโต้ตอบกับลูกค้า หรือผู้ใช้บริการแบบ Real Time ทำให้เกิดความประทับใจ เครื่องที่ใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น ตัวอย่างระบบงานที่เหมาะกับเว็บ แอพพลิเคชั่น เช่น ระบบการจองสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เช่น การจองที่พัก การจองโปรแกรมทัวร์ การจองแผ่น CD-DVD ฯลฯ ระบบงานบุคลากร ระบบงานแผนการตลาด ระบบการสั่งซื้อแบบพิเศษ ระบบงานในโรงเรียน เช่น ระบบงานวัดและประเมินผล ระบบงานปกครอง ระบบงานห้องสมุด ระบบการลงทะเบียน เช็คเกรด ฯลฯ ระบบงานอื่น ๆ ที่ต้องการนำข้อมูลมา Online ค่าใช้จ่ายในการทำเว็บ แอพพลิเคชั่น ปกติจะใช้วิธีการคำนวณจากขอบเขตของระบบงาน และปริมาณของข้อมูลที่ไหลเวียนในระบบ รวมถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ ซึ่งทางเว็บ โปรแกรมเมอร์จะคำนวณราคาออกเป็นงาน ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต่อไปนี้รวมกัน ค่าจัดทำระบบงาน ค่าชื่อโดเมน และ Web Hosting (ในกรณีจะนำระบบออกทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ค่าบริการหลังการขาย ค่า Hardware และอุปกรณ์ด้านเครือข่าย เพิ่มเติม อื่น ๆ Search Engine คืออะไร เสิร์ชเอนจิน (search engine) คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก นิตยสารฟอรบส์ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548)
1. กูเกิล (Google) 36.9%
2. ยาฮูเสิร์ช (Yahoo! Search) 30.4%
3. เอ็มเอสเอ็นเสิร์ช (MSN Search) 15.7%
นอกจากด้านบน เว็บอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมได้แก่
- เอโอแอล (AOL Search)
- อาส์ก (Ask)
- เอ 9 (A9)
- ไป่ตู้ (Baidu, 百度) เสิร์ชเอนจิน อันดับ 1 ของประเทศจีน
ที่มา:http://www.clickmedesign.com/article/search-engine.html
ความหมายคำศัพท์ WAP, WIFI, ISP, HTML, GPRS, CDMA, Bluetooth
ความหมายคำศัพท์ WAP, WIFI, ISP, HTML, GPRS, CDMA, Bluetooth
WAP (Wireless Application Protocol) หมายถึง เทคโนโลยีซึ่งสามารถทำให้อุปกรณ์ไร้สายต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องปาล์ม (Palm) หรือแม้แต่เพจเจอร์ กลายเป็นอุปกรณ์สำหรับอินเตอร์เน็ตไร้สาย Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ISP หรือ Internet Service Provider หมายถึง ผู้ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต โดยคิดค่าบริการจากเวลาในการใช้งาน ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อัตราค่าบริการขึ้นอยู่กับ บริ ษัทของแต่ละประเทศ ตัวอย่างผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น เอเชียเน็ต ทรูอินเตอร์เน็ต เป็นต้น HTML คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language GPRS คือ เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิมเพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น CDMA ย่อมาจาก Code Division Multiple Access คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วยระบบดิจิตอล BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด
ที่มา: https://sites.google.com/site/kruchatchawalthoen/blu-thuth-khux-xari
ความหมายคำศัพท์ Web Site, Web page, Homepage, Webmaster, WWW และ TCP/IP
ความหมายคำศัพท์ Web Site, Web page, Homepage, Webmaster, WWW และ TCP/IP
Web site (เว็บไซต์) เป็นที่เก็บเว็บเพ็จ เมื่อใดที่เราต้องการเปิดดูเว็บเพ็จ เราต้องให้บราวเซอร์ดึงข้อมูล โดยบราวเซอร์ จะทำการติดต่อกับเว็บไซต์นั้นเพื่อให้มีการโอนย้ายข้อมูลมาแสดงที่เครื่องของเรา Webpage (เว็บเพ็จ) เอกสารที่เราเปิดดูใน WWW มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า เว็บเพ็จ ะถูกสร้างขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าHTML ภาษา HTML จะกำหนดรูปแบบและหน้าตาของเว็บเพ็จที่ปรากฎบนหน้าจอและส่วนที่เชื่อมต่อกับเว็บเพ็จอื่น Home Page คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวน เว็บมาสเตอร์ (webmaster) คือบุคคลผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ การพัฒนา การดูแลการตลาด และการบำรุงรักษาเว็บไซต์ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ เว็บมาสเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนหรือจัดการความคิดเห็นของผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ เว็บมาสเตอร์อาจเรียกเป็นอย่างอื่นได้เช่น ผู้ดูแลเว็บไซต์ (website administrator) ผู้สร้างเว็บ ผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ออกแบบเว็บ เป็นต้น WWW คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Netscape TCP/IP คือ การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ ในระบบอินเทอร์เน็ต จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP
ที่มา:http://tnt.co.th/thai/contact_us/faqs/detail.php?ID=233
เรื่องความหมายคำศัพท์ Internet, Intranet, Domain Name, Host
เรื่องความหมายคำศัพท์ Internet, Intranet, Domain Name, Host
อินเทอร์เน็ต คืออะไร อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย อินทราเน็ตคืออะไร อินทราเน็ต(Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น Domain Nameคืออะไร ชื่อโดเมน(NDD) คือ โดเมนที่ถูกต้องสมบูรณ์ทางอินเตอร์เน็ตโดยโดเมนคือชุดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตในรูปแบบชุมชน Host คืออะไร Host ( Hosting, Web Hosting ) เป็นบริการให้เช่าพื้นที่ในการนำเว็บไซต์มาฝาก เพื่อให้เว็บไซต์คุณสามารถออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตได้ โดยเป็นการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ คือ ผู้ใช้บริการไม่ต้องยุ่งยากกับระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพราะทางผู้ให้บริการ Host จะเตรียมการทุกอย่างไว้ให้เรียบร้อย แต่คุณต้องทำการ จดโดเมน ก่อนแล้วจึงมาเช่า Host เพื่อเก็บเว็บไซต์
ที่มา:http://sutida0348.blogspot.com/2014/01/internet-intranet-domain-name-host.html
วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยให้การส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรสาร โทรศัพท์ อีเมล์ โทรทัศน์ และอื่นๆ ไปยังจุดหมายที่อยู่ห่างไกลเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
1.เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น ช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลมีหลายรูปแบบ เทคโนโลยีคมนาคมช่วยให้การ ติดต่อสื่อสารรวดเร็ว ถูกต้อง และได้รับข้อมูลสะท้อนกลับอย่างทันที
2.เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยปกติการดำเนินงานทางธุรกิจมักจะมีการใช้งาน ข้อมูลร่วมกันในแต่ละแผนก ซึ่งเทคโนโลยีโทรคมนาคมช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารใช้งานข้อมูลร่วมกัน ให้ความสะดวกในการบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ลดความซ้ำซ้อน การทำงานที่ผิดพลาด ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีความถูกต้องและมีประสิทธิ์ภาพสูงขึ้น
3.เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น ช่วยให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างสะดวก เครื่อง คอมพิวเตอร์ ปลายทางสามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลกลางด้วยความเร็วรวด
4.เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น พัฒนาการทางอินเตอร์เน็ตช่วยให้การดำเนินธุรกิจ ออนไลน์พัฒนามะ หยุดยั้งตามไปด้วย กระบวนการทางธุรกิจอัตโนมัติกระทำด้วยการสนับสนุน ของเทคโนโลยี คมนาคมที่ทันสมัย
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
2.ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
3.ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
4.สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
5.โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
วอยซ์เมล์ (Voice Mail)
เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)
เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)
ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)
เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน
การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1.สัญญาณแอนะล็อก
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถึ่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วีธีวัดความถึ่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถึ่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ
2.สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)
สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง
Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode)
สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว(Simplex Transmission)
2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน(Half-Duplex Transmission)
3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)(Half-Duplex Transmission)
ตัวกลางการสื่อสาร
1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย (Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
- สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
- สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable)สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
-แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
- สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
- ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
- การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
1.ราคา
2.ความเร็วระยะทาง
3.สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
4.ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
1. บลูทูธ (Bluetooth)
2. ไวไฟ (Wi-Fi)
3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการสื่อสารข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลทั่วไปในการเชื่อมต่อสื่อสาร ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยในการเชื่อมต่อนั้น ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย
ประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงภายในเครือข่าย กล่าวคือ ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อพ่วงมีจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารต่ำ เนื่องจากต้องมีการแบ่งการใช้สื่อนำข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในทางกลับกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีจำนวนเหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูง
สื่อนำข้อมูล (transmission medium)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบ จะเป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างดี แต่ถ้ามีการนำสื่อนำข้อมูล ที่มีความเร็วต่ำหรือไม่ เหมาะกับการใช้งานมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะมีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากการเลือก สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดวางสื่อนำข้อมูลเหล่านั้น โดยการจัดวางสื่อนำข้อมูลจะต้องจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (hardware)
การสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ต่างกันไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะมีผล ต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพต่ำจะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำด้วย นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นกัน
1.จำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงภายในเครือข่าย กล่าวคือ ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ต่อพ่วงมีจำนวนมาก จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารต่ำ เนื่องจากต้องมีการแบ่งการใช้สื่อนำข้อมูลโดยคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ในทางกลับกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมีจำนวนเหมาะสมกับอุปกรณ์สื่อสาร จะทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพสูง
2.สื่อนำข้อมูล เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมกับระบบ จะเป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างดี แต่ถ้ามีการนำสื่อนำข้อมูล ที่มีความเร็วต่ำหรือไม่ เหมาะกับการใช้งานมาใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นจะมีประสิทธิภาพต่ำ นอกจากการเลือก สื่อนำข้อมูลที่เหมาะสมแล้วจะต้องคำนึงถึงวิธีการจัดวางสื่อนำข้อมูลเหล่านั้น โดยการจัดวางสื่อนำข้อมูลจะต้องจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสภาพแวดล้อม
3.เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำหน้าที่ต่างกันไป เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะมีผล ต่อประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพต่ำจะทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพต่ำด้วย นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็ม ก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เช่นกัน
4.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ส่ง ข้อมูล รับข้อมูล หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวกลางใน การติดต่อสื่อสารโปรกแรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลที่ดีสามารถทำให้สื่อสารข้อมูลได้
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายใน เครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone
ซอฟต์แวร์ระบบ
คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลีนุกซ์ เป็นต้น
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้หากปราศจากระบบปฏิบัติการ ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ เราสามารถสั่งงานผ่านระบบปฏิบัติการให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ให้แสดงภาพ ให้พิมพ์ข้อความหรือผลลัพธ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์ยังทำหน้าที่ประสานงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ กับตัวเครื่อง ซอฟต์แวร์ประยุกต์ไม่ว่าประเภทใดล้วนแต่ต้องทำงานบนซอฟต์แวร์ระบบทั้งสิ้น
เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะไม่ทำงาน ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ การเริ่มใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกครั้งจึงต้องบรรจุ (load) ระบบปฏิบัติการเข้าไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะให้เครื่องเริ่มทำงานอย่างอื่น
1.Windows คืออะไร
Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัท ไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่ง ใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส
ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 เป็นต้น
Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows XP
Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows Vista
Windows คืออะไร วินโดวส์ คือระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง
Windows7
เเหล่งที่มา:http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2124-windows-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
2.Linux
Linux เป็นระบบปฏิบัติการแบบ UNIX - compatible ตัวหนึ่งที่ทำงานบนเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระดับพีซี (PC) พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1991
โดยนักศึกษาชื่อ Linus B. Torvalds ณ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์
ในลักษณะของงานอดิเรก โดยมีแรงบันดาลใจมาจากระบบ Minix
ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการคล้ายๆ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาโดย Andy Tanenbaum
เพื่อประกอบการเรียนรู้ ในหนังสือเกี่ยวกับ การออกแบบระบบปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์
Linux Version 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ประมาณปลายเดือน ส.ค. 1991
โดยมีเฉพาะ Harddisk Driver และระบบไฟล์ขนาดเล็ก ให้ใช้เท่านั้น ไม่มีแม้แต
่ Floppy Disk Driver และต้องมีระบบ Minix อยู่แล้ว จึงจะสามารถทำการคอมไพล
์ และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากยังไม่มีโหลดเดอร์ และคอมไพเลอร
์ ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ และบูตระบบผ่าน Minix
Linus เปิดตัว Linux อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 ด้วย Version 0.02
ซึ่งยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ สำหรับผู้พัฒนาโปรแกรมระบบอยู่ จนกระทั่ง
ได้เปิดตัว Version 1.0 ในเดือนมีนาคม 1994 และเริ่มมีผู้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการคล้าย UNIX ที่สมบูรณ์แบบ มีความสามารถสน
ันสนุนกราฟิก X Window สนับสนุนระบบเครือข่าย TCP/IP สามารถรับส่งอีเมล์
ทำหน้าที่เป็น News, WWW, FTP Server ได้ และความสามารถอื่นๆ อีกมาก
สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของ Linux ได้แก่
*เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี
*ทำงานได้บนเครื่องพีซีทั่วไป ที่มีหน่วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 80386 ขึ้นไป
รวมถึง Motora 680x0, Compaq (Digital) Alpha, PowerPC, SPARC เป็นต้น
จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความต้องการทรัพยากรของระบบในขั้นต่ำ
*สามารถทำงานได้รวดเร็ว เนื่องจากมีระบบการจัดการหน่วยความจำเสมือน
(Virtual Memory) การจัดทำงานแบบ Multitasking และระบบป้องกันการรบกวน
การทำงานระหว่าง Process ต่างๆ
*มีกลุ่มผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง ทำให้ข้อบกพร่องต่างๆ ถูกค้นพบ
และหาวิธีแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูงระบบหนึ่ง
*มีความสามารถแบบ UNIX
* สามารถใช้งานร่วมกับดอส (DOS) และ Microsoft Windows โดยการแบ่งพาติชั่น
*ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DOS,
Microsoft Windows, NetWare, OS/2, Minix, NFS, System V
*เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เนื่องจากทุกฟังก์ชันมี Source Code แนบมาพร้อม
* Linux ออกเสียงได้หลายลักษณะ เช่น ลีนุกซ์, ไลนักซ์, ลีนิกซ์
เเหล่งที่มา: http://linuxunix54321.tripod.com/Linux01.htm
3. UNIX เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มต้นใน Bell Labs เมื่อปี 1969 ในฐานะระบบ Interactive time -sharing ซึ่ง Ken Thompson และ Demiss Ritchie ได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้คิดค้น UNIX ในปี 1974 Unix เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่เขียนด้วยภาษา C และเป็น freeware ซึ่งมีส่วนขยายและความคิดใหม่ในเวอร์ชันที่หลากหลาย จากบริษัทต่าง ๆ มหาวิทยาลัยและเอกชนทำให้ Unix กลายเป็นระบบเปิด หรือระบบปฏิบัติการมาตรฐานแรกที่ให้บุคคลทั่วไปสามารถปรับปรุงได้ ส่วนประกอบของภาษา C และ shell interface ของ UNIX อยู่ภายใต้มาตรฐาน Portable Operating System Interface ซึ่งอุปถัมภ์โดย Instituted of Electrical and Electronics Engineering ในส่วนอินเตอร์เฟซของ POSIX ได้มีการระบุ X/Open Programming Guide 4.2 (รู้จักกันในชื่อ "Single UNIX Specification" และ UNIX 95") เวอร์ชัน 2 ของ Single UNIX Specification เรียกว่า UNIX 98
ระบบปฏิบัติการ UNIX มีการใช้อย่างกว้างขวางในผลิตภัณฑ์ เวิร์กสเตชั่น ของ Sun Microsystems, Silicon Graphics, IBM และบริษัทอื่น ๆ สภาพแวดล้อมของ UNIX และแบบจำลองโปรแกรม Client/Server เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาอินเตอร์เน็ต และเปลี่ยนการประมวลผลแบบศูนย์กลางในเครือข่ายมากกว่าคอมพิวเตอร์อิสระ Linux เป็นอนุพันธ์ของ UNIX ที่มีทั้งเวอร์ชันฟรีและพาณิชย์ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในฐานะตัวเลือกของระบบปฏิบัติการ
Unix เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการ (Operating System) อีกแบบหนึ่งซึ่งต่างออกไปจากระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น Windows หรือ Dos ระบบ ปฏิบัติการ Unix ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 1970 โดยมีรากฐานมาจากภาษา C โดยบริษัท AT&T เป็นผู้เริ่มต้นในการพัฒนาระบบปฏิบัติการนี้จุดเด่นของ Unix ที่แตกต่างจาก Windows นั้นมีหลายประการ หากมองจากการใช้งานก็จะพบว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจาก Unix เป็นระบบปฏิบัติงานที่ใช้การพิมพ์คำสั่ง (Command Line) ส่วน Windows เป็นลักษณะ GUI (Graphic User Interface) ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ให้ใช้งานง่าย เนื่องจากใช้รูปภาพเป็นสื่อ ทำให้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานยากกว่า Windows เนื่องจากต้องจดจำคำสั่ง(ซึ่งมีมากพอสมควร)ให้ได้ นอกจากนี้ Unix ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่มีความแตกต่างกันในเรื่องอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่ ทำให้มักเกิดความสับสนสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ Unix ก็มีจุดเด่นที่เหนือกว่า Windows ในแง่ของประสิทธิภาพในการทำงาน โดยในระดับ Hardware ชุดเดียวกันระบบ Unix จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า นอกจากนี้ยังมีเสถียรภาพในการทำงานที่เหนือกว่า Windows ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเทียบกับ Windows ในตระกูล 9 x เช่น Windows95, 98, Me แล้ว Unix จะมีเสถียรภาพในการทำงานที่เหนือกว่าชนิดเทียบกันไม่ได้เลย
คุณสมบัติที่ค่อนข้างโดดเด่นของ Unix นั้นได้แก่
- มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) คือ ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น Foreground และ Background
- มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) Unix สามารถรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันนั่นเอง จากจุดเด่นนี้ทำให้พบว่าในปัจจุบันเรานิยมใช้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง Internet Server กันมาก
โครงสร้างในการทำงานของ Unix Unix แบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ส่วนหลักนั่นคือ Application Program, Shell, Unix Kernel, Hardware โดยเราจะทำงานอยู่ในระดับนอกสุดคือ ระดับ Application Program จากนั้น Unix จะทำงานเป็นลำดับชั้นผ่าน Shell , Kernel และ Hardware ตามลำดับ
- Shell ทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับ Kernel โดยทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์ input เช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลเป็นภาษาให้เครื่องเข้าใจ หรือเรียกว่า command interpreter และยังสามารถนำคำสั่งเหล่านี้มารวมกันในลักษณะของโปรแกรมที่เรียกว่า เชลล์สคริปต์ (Shell script) ได้ด้วย นอกจากนี้ยังควบคุมทิศทางของ input และ output ว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด Shell ที่ใช้งานบน Unix มีอยู่ 3 แบบคือ Bourne shell(sh), C shell(csh), Korn shell(ksh) (รายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จากหนังสือหรือ website ที่เกี่ยวข้องกับ Unix โดยเฉพาะ)
4. Mac OS (แมค โอเอส)
เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่ผลิตโดยบริษัทแอปเปิลแมคอินทอชโอเอสถูกเปิดตัวออกมาครั้งแรกในปี 1984 ลักษณะที่เด่นของระบบปฏิบัติการประเภทนี้คือ มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าระบบปฏิบัติการดอส เนื่องจากคำสั่งต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบของเมนู และมีรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน ที่ใช้แทนโปรแกรมหรืองานผู้ใช้สามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเมนู หรือไอคอนเพื่อเรียกคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาทำงานได้ แทนการป้อนคำสั่งจากแป้นพิมพ์เหมือนดอส
เนื่องจากเครื่องแมคอินทอชและไอบีเอ็ม จะมีการออกแบบซีพียูที่แตกต่างกัน กล่าวคือเครื่องไอบีเอ็มและไอบีเอ็มคอมแพททิเบิลจะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์หรือ ซีพียูที่สร้างโดยบริษัท Intel ได้แก่ ซีพียูเบอร์ 80286, 80386, 80486 และในปัจจุบันคือเพนเที่ยม (Pentium) ซึ่งแทนซีพียูเบอร์ 80586 นั่นเอง ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชจะใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ที่สร้างโดยบริษัท Motorola ได้แก่ ซีพียูเบอร์ 68000, 68020, 68030 และ 68040 ดังนั้นจึง ไม่สามารถใช้แมคอินทอชกับเครื่องไอบีเอ็มทั่วไปได้ หรือแม้แต่นำโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้ดอสไปเรียกใช้งานหรือรัน (run) บนเครื่องแมคอินทอช หรือในทางกลับกันได้ แต่ในเวอร์ชั่นใหม่ของแมคอินทอชคือ ตั้งแต่ Macintosh II เป็นต้นไป มีการเพิ่มแผงวงจรพิเศษให้สามารถนำซอฟต์แวร์บนดอสมารันอยู่บนเครื่องแมคได้ และในเวอร์ชัน 7 (System 7) ได้ถูกออกแบบให้เป็นโอเอสที่มีความสามารถทำงานในลักษณะของมัลติทาสกิ้งได้ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเครื่องแมคอินทอชยังคงเป็นเครื่องที่มีราคาค่อนข้างแพงมาก เมื่อเทียบกับเครื่องไอบีเอ็มคอมแพททิเบิลทั่วไปที่ใช้ระบบปฏิบัติการดอส หรือวินโดวส์ ดังนั้นจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่ากับเครื่องตระกูลไอบีเอ็
5.Android
วิธีที่จะเข้าใจว่า Android(แอนดรอยด์) คือ อะไร? อย่างง่ายๆ ให้เราลองนึกถึง คอมพิวเตอร์ที่บ้านครับ ตอนนี้ใช้ Windows อะไรอยู่ครับ บางคนก็จะตอบว่า Windows 7, Windows Vista บางคนก็ตอบว่า Windows XP หรือบางคนอาจจะตอบว่า ผมไม่ใช้ Windows ผมใช้ Linux ซึ่งจะเป็น Linux รุ่นไหนก็ว่ากันไป … Windows หรือ Linux เราเรียกมันว่า ระบบปฏิบัติการ(OS) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ลง Windows ก็จะเปิดเครื่องเพื่อทำงานไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น โทรศัพท์มือถือ SmartPhone ก็เช่นเดียวกันครับ มันต้องการ OS ซึ่งใน iPhone นั้นบริษัทแอปเปิ้ลใช้ OS ที่ชื่อว่า iPhone OS ครับ ในขณะที่บริษัทกูเกิ้ล(Google) บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที อีกรายก็ได้ซุ่มพัฒนา OS ที่มีชื่อว่า Android(แอนดรอยด์) OS ขึ้นมา ซึ่ง Android(แอนดรอยด์) เวอร์ชั่น 1.0 ได้ถูกปล่อยออกมาใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ 2008
คู่แข่ง iPhone?
วงการมือถือในปัจจุบันมีโทรศัพท์กลุ่มที่เรียกว่า SmartPhone ซึ่งคือมือถือที่ทำอะไรได้มากกว่า โทรเข้า-ออก โดย สามารถเข้าถึงบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ตผ่าน App(แอพลิเคชั่น หรือโปรแกรม)บน Smartphone ทำให้โทรศัพท์มือถือในกลุ่ม SmartPhone เป็นอะไรที่ดึงดูดผู้ใช้งานมือถือที่ต้องการอะไรที่ใหม่ๆ เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และเกิด LifeStyle ใหม่ๆ ซึ่งในปัจจุบัน เจ้าตลาด SmartPhone คือ iPhone ของบริษัทแอปเปิ้ล ที่โด่งดังมาตลอดในช่าม 3-5 ปีที่ผ่านมา โดยยังไม่มีใครมาทาบรัศมีได้.. แต่แล้วในปีนี้เราเริ่มจะเห็นมือถือหลายรุ่นที่มีหน้าตาการทำงานคล้ายกัน และมีความสามารถที่ทัดเทียมกับ iPhone และในบางกระแสบอกว่า ความสามารถของเจ้ามือถือนี้ ยอดเยี่ยมยิ่งกว่า iPhone เสียอีก… ผู้คนเรียกขานเจ้ามือถือหลายรุ่น หลายยี่ห้อ แต่มีหน้าตาการทำงานที่เหมือนกันนี้ว่า “Android(แอนดรอยด์) Phone”
ต้นกำเนิด แอนดรอยด์ (Android)
ย้อนไปเมื่อประมาณ เดือน ตุลาคม ปี 2003 Andy Rubin ได้ก่อตั้งบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) พร้อมกับเพื่อนร่วมงานที่ถือว่ามีความสามารถแตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน ร่วมกันพัฒนามาเรื่อยจนเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2550 โทรศัพท์มือถือรุ่นแรก ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ ก็ได้ออกวางจำหน่าย ซึ่งสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ คือ HTC Dream
Android 4.0 หรือ Android 4.1? ตัวเลขข้างหลังคืออะไร? เพื่ออะไร?
Android(แอนดรอยด์) 4.0 เป็นหมายเลขเวอร์ชั่นของ ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ ครับ เหมือนที่ Windows มีทั้ง Windows95, Windows 2000, Windows XP, Windows Vista ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนาต่อๆกันมาของ Windows ครับ ใน Android OS เองก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ตอนนี้ Android OS มีทั้งหมด 10 เวอร์ชั่นแล้วครับและมีชื่อเล่นสำหรับเรียกง่ายๆด้วยครับ
ซึ่ง ก็ได้แก่ Apple Pie(Android 1.0),Banana Bread(Android 1.1),CupCake(Android 1.5), Donut(Android 1.6), Éclair(Android 2.1), Froyo(Android 2.2), Gingerbread(Android 2.3), Honeycomb(Android 3.0), Ice Cream Sandwich(Android 4.0), Jelly Bean (Android 4.1) จะสังเกตุเห็นได้ว่า ชื่อรุ่นทุกรุ่นเป็นของหวานทั้งหมดเลยครับ
เเหล่งที่มา:http://www.techmoblog.com/android_phone_guide/
6.ไอโอเอส (iOS)
ไอโอเอส (iOS)
ไอโอเอส (iOS) ในชื่อเดิมคือ ไอโฟนโอเอส (iPhone OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับ smart phone ของบริษัท Apple โดยพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ไอโฟน และได้พัฒนาต่อใช้สำหรับ ไอพอดทัช และ ไอแพด โดยระบบปฏิบัติการนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังแอ็ปสตอร์ สำหรับเข้าถึงแอปพลิเคชัน มากกว่า 600,000 ตัว ซึ่งมีการดาวน์โหลดไปมากกว่า สองหมื่นห้าพันล้านครั้ง
iPad,iPod touch and iPhone
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฎิบัติการ iOS
เเหล่งที่มา: http://mindios.blogspot.com/2012/06/ios.html
7. Symbian คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ช่วยในการส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก เป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง ช่วยประหยัดพลังงาน และใช้หน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก เพื่อรองรับกับโทรศัพท์มือถือทั้งในปัจจุบันและอนาคต
symbian01
Symbian เกิดขึ้นและพัฒนาการอย่างไร?
Symbian OS เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1998 ซึ่งในตอนนั้นมีพันธมิตรร่วมกัน 4 ราย คือ Ericsson, Motorola, Nokia และ PSION โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ
เเหล่งที่มา: http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/289-symbian-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html
8.Windows Phone
Windows Phone ในยุคของการแข่งขัน Smartphone อย่างดุเดือดในบรรดา 3 ค่ายที่กำลังแข่งขันกันคือ Android, iOS และ Windows Phone เรียงตามลำดับ อันที่จริง มีเยอะกว่านี้ แต่ตัวอื่น ๆ ได้ตกอันดับและไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งอีก สำหรับ Windows Phone เป็น Software ของบริษัท Microsoft เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อประมาณกลางปี 2010 เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อรองรับอุปกรณ์บนมือถือประเภท Smartphone หรือ Tablets
Windows Phone
Windows Phone Logo
ในปัจจุบัน Windows Phone จะยังใช้อยู่ใน Version 7 โดยใช้รูปแบบของ Metro UI Theme มาจัดการในส่วนของ Interface ระหว่าง Application กับ User ซึ่งจะใช้งานง่าย และสนุกกว่าการใช้ Stylus ในแบบพวก Windows Mobile เช่นกับฟีเจอร์การทำงานของ iOS ของ iPhone , iPad หรือ Android ซึ่งการใช้งานจะคล้าย ๆ กับ คือใช้ระบบสัมผัสด้วยมือ หรือ Slide พวก Swipe ในทิศทางต่าง ๆ
Windows Phone ออกแบบมาให้สามารถใช้ได้กับ Smartphone ในขนาดทั่ว ๆ ไป รวมทั้ง Tablets โดยในมือถือหรือ Smartphone ที่ได้ถูกติดตั้งในปัจจุบันจะเป็นของ Nokia เช่น รุ่น Lumia (มียอดขายกว่า 4 ล้านเครื่อง) และคาดว่าในอนาคตเร็ว ๆ นี้จะได้ใช้กับอุปกรณ์หลาย ๆ รุ่น
Windows Phone
Metro UI Interface
และไม่อีกกี่เดือนข้างหน้า Microsoft จะออก Windows Phone เวอร์ชั่น 8 พร้อมกับปล่อย SDK มาเพื่อให้นักพัฒนาทั้งหลาย ได้ดาวน์โหลดมาทดลองกัน และ Windows Phone 8 มีการใช้ Core บางตัวมาจาก Windows 8 ที่อยู่บน PC Desktop เพราะฉะนั้นในบาง Application สามารถนำจาก Application ที่อยู่บน Windows 8 มาใช้กับ Windows Phone 8 โดยอาจจะเปลี่ยนโครงสร้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Windows Phone
Smartphone ที่ติดตั้ง Windows Phone
Windows Phone
Brand ทีจะออกรุ่น Smartphone ที่ถูกติดตั้ง Windows Phone บน CPU ในรุ่น Qualcomm
การพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone นั้นถือว่ายังมีน้อยมาก ถ้าเปรียบเทียบกับ Android สาเหตุส่วนหนึ่งคือ ในระบบ Windows เอง ไม่ใช่ Open Source จึงทำให้ค่ายโทรศัพท์มือถือต่าง ๆ จะเลือกนิยมใช้ Android ที่เป็นของฟรี กันเป็นส่วนมาก และเมื่อมีผู้ใช้น้อย นักเขียนโปรแกรมก็จะน้อยเช่นเดียวกัน สังเกตุได้จาก การค้นหาข้อมูลบน Google แทบจะหายาก หรือ ไม่มี และ Application ที่มีให้เลือกใช้ก็ยังน้อยเช่นเดียวกัน
การพัฒนาหรือเขียนโปรแกรมสำหรับ Windows Phone 7 และ 8 นั้น จะง่ายกกว่าการเขียนบน Android หรือ iOS เพราะถ้าเคยเขียนพวก VB / VB.NET หรือ C# มาแล้วก็จะสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว พื้นฐานแล้ว Windows Phone พัฒนาด้วย .NET Framework กับ Silverlight ใช้ XAML เป็น UI ในการสร้าง Interface บนหน้าจอ และมี Code Behind ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Interface อีกที ปัจจุบันสามารถเขียนได้ 2 ภาษาคือ VB.NET และ C# และ Tools ที่จะสารองรับการเขียนคือ Visual Studio 2010 โดยถ้าจะเขียนแค่ติดตั้ง Visual Studio 2010 และ Windows Phone SDK เท่านั้นก็จะสามารถเขียนได้ทันที
Windows Phone
Visual Studio 2010 สำหรับเขียนโปรแกรมบน Windows Phone
Windows Phone
Emulator ที่อยู่บน Windows Phone SDK
ตามที่ได้เกรนไว้ในย่อหน้าแรก ๆ คือ Windows Phone ยังถือว่าใหม่สำหรับเมืองไทยในด้านของการพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone แต่ปัจจุบัน Microsoft ได้ให้ความสนใจที่จะพัฒนา Windows Phone เป็นอย่างมาก และมีโอากาสที่ Windows Phone จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Application ที่อาจจะได้รับความนิยมในอนาคตเป็นได้ ส่วนหนึ่งก็คือ คนส่วนมากจะใช้ Windows OS ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และ Interface ของ Application บางตัวใน Windows Phone เราก็คุ้นเคยดี รวมทั้ง Application อื่น ๆ ที่อาจจะรองรับต่อการทำงานบน Windows ได้ดีกว่า iOS หรือ Android เช่นพวก Document ที่เป็น Microsoft Office ต่าง ๆ และโดยพื้นฐานเอง Micorsoft ก็มีนักพัฒนา Windows อยู่ทั่วโลกมากมาย การเขียนโปรแกรมก็สามารถเรียบรู้และเข้าใจได้โดยไม่ยาก
สำหรับนักพัฒนาโปรแกรมสนใจที่จะหันมาพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone นั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมบน Smarphone อื่น ๆ ก็สามารถที่จะเขียนแอพบน Windows Phone ได้ เพราะแค่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมพวก ASP, VB, VB.NET หรือ C# และก็พื้นฐาน XML นิดหน่อยก็สามารถต่อยอดได้อย่างไม่ยาก และบนเว็บของ Microsoft เองก็มี Windows Phone Dev Center เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone ทั้งหมด เช่น SDK Package หรือ Document และตัวอย่าง Application ไว้สำหรับศึกษาอีกมากมาย
เเหล่งที่มา: http://www.thaicreate.com/mobile/windows-phone-os.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)